Thursday 25 July 2013

องค์การบริหารส่วนตำบลขึ่ง


ชื่อรายงานการศึกษา                : การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในโครงการเพิ่ม
  ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วน
  ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ผู้ศึกษา                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พูนทรัพย์  เกตุวีระพงศ์ และคณะ
หน่วยงาน                                   :  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ                               :  2550
ทุนอุดหนุนการศึกษา                   : องค์การบริหารส่วนตำบลขึ่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลขึ่ง ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลขึ่ง  ใน  3  ด้าน   คือ    ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการในโครงการ จำนวน 287 คน และได้รับแบบสอบถามคืนมา 286 ชุด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)  และพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความพึงพอใจต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลขึ่งในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลขึ่ง  ร้อยละ 93.48  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนให้บริการ ร้อยละ 95.57 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ร้อยละ 95.24 และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 90.45









The Title                 : A study the people’s satisfaction in an incrassation of imposition
  project of  Municipality of Tumbol Khuang, Viang Sa District,
  Nan province.
Assessor                 : Assistant Professor Poonchap Ketverapong and Other

Department              : Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus

Budget Year             : 2007
Support  by              : Municipality of Tumbol Khuang

Abstract

The objective aimed to study the satisfaction of people who are using the service of Municipality of Tumbol Khuang particularly in an incrassation of imposition project. The study focuses on 3 parts i.e. the service processions, the servicing of authority, and the facilities. The sampling size is 287 populations and the good questionnaires are 286 pieces. Data were collected by using the questionnaires and analyzed by using percentages and explains.
            The results founded that people satisfied the service of Municipality of Tumbol Khuang 93.48 %. They were Satisfied 95.57 % on the service processions, 95.24 % on the servicing of authority, and 90.45 % on the facilities.











องค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง



ชื่อรายงานการศึกษา                 : การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในโครงการปรับปรุง
  และลดขั้นตอนระยะเวลาการทำงานขององค์การบริหารส่วน  
  ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ผู้ศึกษา                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พูนทรัพย์  เกตุวีระพงศ์ และคณะ
หน่วยงาน                                   :  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ                               :  2550
ทุนอุดหนุนการศึกษา                   : องค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง ในโครงการปรับปรุงและลดขั้นตอนระยะเวลาการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง ใน  3  ด้าน   คือ    ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการในโครงการ จำนวน 323 คน และได้รับแบบสอบถามคืนมา 322 ชุด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)  และพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง ในโครงการปรับปรุงและลดขั้นตอนระยะเวลาการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง โดยภาพรวม ร้อยละ 96.27  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ร้อยละ 96.38 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ร้อยละ 97.61 และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 94.88








The Title                 : A study the people’s satisfaction in the work’s improvement and
 good servicing project of  Municipality of Tumbol khlang Viang,  
 Viang Sa District, Nan province.
Assessor                 : Assistant Professor Poonchap Ketverapong and Other

Department              : Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus

Budget Year             : 2007
Support  by              : Municipality of Tumbol khlang Viang

Abstract

The objective aimed to study the satisfaction of people who are using
the service of Municipality of Tumbol khlang Viang particularly in the work’s improvement and good servicing project. The study focuses on 3 parts i.e. the service processions, the servicing of authority, and the facilities. The sampling size is 323 populations and the good questionnaires are 322 pieces. Data were collected by using the questionnaires and analyzed by using percentages and explains.
            The results founded that people satisfied the service of Municipality of Tumbol khlang Viang 96.27 %. They were Satisfied 96.38 % on the service processions, 97.61 % on the servicing of authority, and 94.88 % on the facilities.


Wednesday 17 July 2013

วัด

พระอารามหลวงมหานิกาย

  • วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่
  • วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง ตำบลช่อแฮ

วัดราษฏร์ในจังหวัดแพร่


วัดราษฏร์ในอำเภอเมืองแพร่

    วัดราษฏร์มหานิกาย

    • วัดกาญจนาราม ตำบลกาญจนา
    • วัดดอนแก้ว ตำบลกาญจนา
    • วัดดอนดี ตำบลกาญจนา
    • วัดหนองบ่อ ตำบลกาญจนา
    • วัดหัวฝาย ตำบลกาญจนา
    • วัดจอมเขา ตำบลช่อแฮ
    • วัดต้นไคร้ ตำบลช่อแฮ
    • วัดธรรมเมือง ตำบลช่อแฮ
    • วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลช่อแฮ
    • วัดนาตอง ตำบลช่อแฮ
    • วัดบ้านใน ตำบลช่อแฮ
    • วัดพันเชิง ตำบลช่อแฮ
    • วัดสุวรรณาราม ตำบลช่อแฮ
    • วัดท่าขวัญ ตำบลท่าข้าม
    • วัดไผ่ล้อม ตำบลท่าข้าม
    • วัดจอมสวรรค์ ตำบลทุ่งกวาว
    • วัดทุ่งกวาว ตำบลทุ่งกวาว
    • วัดนาแหลมเหนือ ตำบลทุ่งกวาว
    • วัดโศภนาลัย ตำบลทุ่งกวาว
    • วัดสวรรค์นิเวศ ตำบลทุ่งกวาว
    • วัดทุ่งโฮ้งใต้ ตำบลทุ่งโฮ้ง
    • วัดทุ่งโฮ้งเหนือ ตำบลทุ่งโฮ้ง
    • วัดกวีรัตน์ ตำบลนาจักร
    • วัดนาจักร ตำบลนาจักร
    • วัดบ้านเหล่า ตำบลนาจักร
    • วัดเสด็จ ตำบลนาจักร
    • วัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ
    • วัดชัยมงคล ตำบลในเวียง
    • วัดเชตวัน ตำบลในเวียง
    • วัดต้นธง ตำบลในเวียง
    • วัดพงษ์สุนันท์ ตำบลในเวียง
    • วัดพระนอน ตำบลในเวียง
    • วัดพระร่วง ตำบลในเวียง
    • วัดเมธังกราวาส ตำบลในเวียง
    • วัดร่องซ้อ ตำบลในเวียง
    • วัดศรีชุม ตำบลในเวียง
    • วัดศรีบุญเรือง ตำบลในเวียง
    • วัดสระบ่อแก้ว ตำบลในเวียง
    • วัดหลวง ตำบลในเวียง
    • วัดหัวข่วง ตำบลในเวียง
    • วัดเหมืองแดง ตำบลในเวียง
    • วัดถิ่นนอก ตำบลบ้านถิ่น
    • วัดถิ่นใน ตำบลบ้านถิ่น
    • วัดโปร่งศรี ตำบลบ้านถิ่น
    • วัดป่าแดง ตำบลป่าแดง
    • วัดหนองแขม ตำบลป่าแดง
    • วัดต้นห้า ตำบลป่าแมต
    • วัดน้ำโค้ง ตำบลป่าแมต
    • วัดน้ำชำ ตำบลป่าแมต
    • วัดมณีวรรณ ตำบลป่าแมต
    • วัดมหาโพธิ์ ตำบลป่าแมต
    • วัดสองแคว ตำบลป่าแมต
    • วัดสุพรรณ ตำบลป่าแมต
    • วัดหนองใหม่ ตำบลป่าแมต
    • วัดต้นม่วง ตำบลแม่คำมี
    • วัดวังช้าง ตำบลแม่คำมี
    • วัดศรีภูมิ ตำบลแม่คำมี
    • วัดสันป่าสัก ตำบลแม่คำมี
    • วัดนันทาราม ตำบลแม่ยม
    • วัดหนองกลาง ตำบลแม่ยม
    • วัดกาซ้องเหนือ ตำบลแม่หล่าย
    • วัดบุญเจริญ ตำบลแม่หล่าย
    • วัดแม่หล่าย ตำบลแม่หล่าย
    • วัดร่องฟอง ตำบลร่องฟอง
    • วัดเวียงตั้ง ตำบลวังธง
    • วัดวังหงษ์ใต้ ตำบลวังหงษ์
    • วัดวังหงษ์เหนือ ตำบลวังหงษ์
    • วัดดงใต้ ตำบลสวนเขื่อน
    • วัดดงเหนือ ตำบลสวนเขื่อน
    • วัดแม่แคม ตำบลสวนเขื่อน
    • วัดสวนเขื่อน ตำบลสวนเขื่อน
    • วัดทุ่งล้อม ตำบลห้วยม้า
    • วัดพงชัย ตำบลห้วยม้า
    • วัดพนมขวัญ ตำบลห้วยม้า
    • วัดศรีสิทธิ์ ตำบลห้วยม้า
    • วัดสุนทรนิวาส ตำบลห้วยม้า
    • วัดกาซ้อง ตำบลเหมืองหม้อ
    • วัดปทุม ตำบลเหมืองหม้อ
    • วัดสำเภา ตำบลเหมืองหม้อ
    • วัดเหมืองค่า ตำบลเหมืองหม้อ
    • วัดเหมืองหม้อ ตำบลเหมืองหม้อ

    วัดราษฏร์ในกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่

      วัดราษฏร์มหานิกาย

      • วัดสะเลียม ตำบลตำหนักธรรม
      • วัดย่านยาว ตำบลน้ำรัด
      • วัดรัตนสุนทร ตำบลน้ำรัด
      • วัดตำหนักธรรม ตำบลแม่คำมี
      • วัดแม่คำมี ตำบลแม่คำมี
      • วัดทุ่งแค้ว ตำบลวังหลวง
      • วัดวังหลวง ตำบลวังหลวง
      • วัดหนองม่วงไข่ ตำบลหนองม่วงไข่

      วัดราษฏร์ในอำเภอเด่นชัย

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        • วัดเด่นชัย ตำบลเด่นชัย
        • วัดเด่นทัพชัย ตำบลเด่นชัย
        • วัดน้ำโค้ง ตำบลเด่นชัย
        • วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี ตำบลเด่นชัย
        • วัดแพะโรงสูบ ตำบลเด่นชัย
        • วัดศรีคิรินทราราม ตำบลเด่นชัย
        • วัดอินทนิเวศน์ ตำบลเด่นชัย
        • วัดไทรย้อย ตำบลไทรย้อย
        • วัดบ่อแก้ว ตำบลไทรย้อย
        • วัดปางเคาะ ตำบลไทรย้อย
        • วัดศรีเกษม ตำบลไทรย้อย
        • วัดเด่นชุมพล ตำบลปงป่าหวาย
        • วัดพงป่าหวาย ตำบลปงป่าหวาย
        • วัดแม่ยุ้น ตำบลปงป่าหวาย
        • วัดสวนหลวง ตำบลปงป่าหวาย
        • วัดชัยเขต ตำบลแม่จั๊วะ
        • วัดดงสุระ ตำบลแม่จั๊วะ
        • วัดแพะร่องหิน ตำบลแม่จั๊วะ
        • วัดแพะหนองบ่อ ตำบลแม่จั๊วะ
        • วัดใหม่วงศ์วรรณ ตำบลแม่จั๊วะ
        • วัดน้ำแรม ตำบลห้วยไร่
        • วัดแม่พวก ตำบลห้วยไร่
        • วัดห้วยไร่ ตำบลห้วยไร่

        วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

        วัดแพร่ธรรมาราม ตำบลเด่นชัย

        วัดราษฏร์ในอำเภอร้องกวาง

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        • วัดทุ่งศรี ตำบลทุ่งศรี
        • วัดผาราง ตำบลทุ่งศรี
        • วัดวังหม้อ ตำบลทุ่งศรี
        • วัดน้ำเลา ตำบลน้ำเลา
        • วัดบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา
        • วัดไผ่ย้อย ตำบลน้ำเลา
        • วัดบุญเริง ตำบลบ้านเวียง
        • วัดปากห้วยอ้อย ตำบลบ้านเวียง
        • วัดเวียงสันทราย ตำบลบ้านเวียง
        • วัดอ้อยหลวง ตำบลบ้านเวียง
        • วัดไทรพร้าว ตำบลไผ่โทน
        • วัดปางยาว ตำบลไผ่โทน
        • วัดไผ่โทน ตำบลไผ่โทน
        • วัดแม่กระทิง ตำบลไผ่โทน
        • วัดวังพึ่ง ตำบลไผ่โทน
        • วัดวิเวก ตำบลไผ่โทน
        • วัดแม่ยางกวาว ตำบลแม่ยางตาล
        • วัดแม่ยางตาล ตำบลแม่ยางตาล
        • วัดแม่ยางใหม่ ตำบลแม่ยางตาล
        • วัดหนองเจริญ ตำบลแม่ยางตาล
        • วัดดอนชุม ตำบลแม่ยางร้อง
        • วัดบุญภาค ตำบลแม่ยางร้อง
        • วัดแม่ยางยวง ตำบลแม่ยางร้อง
        • วัดสันกลาง ตำบลแม่ยางร้อง
        • วัดแม่ยางเปี้ยว ตำบลแม่ยางฮ่อ
        • วัดแม่ทราย ตำบลร้องกวาง
        • วัดแม่ยางโพธิ์ ตำบลร้องกวาง
        • วัดร้องกวาง ตำบลร้องกวาง
        • วัดวังโป่ง ตำบลร้องกวาง
        • วัดร้องเข็ม ตำบลร้องเข็ม
        • วัดศรีดอนมูล ตำบลร้องเข็ม
        • วัดสันพยอม ตำบลร้องเข็ม

        วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

        • วัดป่าวัฒนาราม ตำบลร้องกวาง
        วัดราษฏร์ในอำเภอลอง

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        วัดน้ำริน ตำบลต้าผามอก

        • วัดบ้านปง ตำบลต้าผามอก
        • วัดบ้านอิม ตำบลต้าผามอก
        • วัดผามอก ตำบลต้าผามอก
        • วัดทุ่งแล้ง ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดปากจอก ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดผาจั๊ม ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดโพธิสาร ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดวังเลียง ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดศรีดอนไชย ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดหาดผาคัน ตำบลทุ่งแล้ง
        • วัดดงลาน ตำบลบ้านปิน
        • วัดนาสาร ตำบลบ้านปิน
        • วัดบ่อแก้ว ตำบลบ้านปิน
        • วัดโพธิบุบผาราม ตำบลบ้านปิน
        • วัดแม่หลู้ ตำบลบ้านปิน
        • วัดแม่หีด ตำบลบ้านปิน
        • วัดห้วยแม่ต้า ตำบลบ้านปิน
        • วัดท่าเดื่อ ตำบลปากกาง
        • วัดบุญเย็น ตำบลปากกาง
        • วัดปากปง ตำบลปากกาง
        • วัดร่องบอน ตำบลปากกาง
        • วัดวังเคียน ตำบลปากกาง
        • วัดแหลมลี่ ตำบลปากกาง
        • วัดไฮสร้อย ตำบลปากกาง
        • วัดแม่ปาน ตำบลแม่ปาน
        • วัดต้าแป้น ตำบลเวียงต้า
        • วัดต้าม่อน ตำบลเวียงต้า
        • วัดต้าเวียง ตำบลเวียงต้า
        • วัดต้าเหล่า ตำบลเวียงต้า
        • วัดศรีวิสุทธาราม ตำบลเวียงต้า
        • วัดดอนมูล ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดนาแก ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดนาจอมขวัญ ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดนาหลวง ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดแม่เกี่ยม ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดสะแล่ง ตำบลห้วยอ้อ
        • วัดเชตวัน ตำบลหัวทุ่ง
        • วัดต้นม่วงคีรี ตำบลหัวทุ่ง
        • วัดนาตุ้ม (นาทุ่ม) ตำบลหัวทุ่ง
        • วัดนาบุญ ตำบลหัวทุ่ง
        • วัดไผ่ล้อม ตำบลหัวทุ่ง
        • วัดแม่จอก ตำบลหัวทุ่ง

        วัดราษฏร์ในอำเภอวังชิ้น

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        • วัดดอนกว้าง ตำบลนาพูน
        • วัดนาพูน ตำบลนาพูน
        • วัดวังลึก ตำบลนาพูน
        • วัดหาดรั่ว ตำบลนาพูน
        • วัดอมรธรรม ตำบลนาพูน
        • วัดป่าวิเวการาม ตำบลป่าสัก
        • วัดแม่เกิ๋ง ตำบลแม่เกิ๋ง
        • วัดชัยสิทธิ์ ตำบลแม่ป้าก
        • วัดแช่ฟ้า ตำบลแม่ป้าก
        • วัดพันเจน ตำบลแม่ป้าก
        • วัดแม่บงใต้ ตำบลแม่ป้าก
        • วัดแม่บงเหนือ ตำบลแม่ป้าก
        • วัดศรีคีรี ตำบลแม่ป้าก
        • วัดสัมฤทธิ์บุญ ตำบลแม่ป้าก
        • วัดค้างปินใจ ตำบลแม่พุง
        • วัดปางมะโอ ตำบลแม่พุง
        • วัดปางไฮ ตำบลแม่พุง
        • วัดป่าไผ่ ตำบลแม่พุง
        • วัดป่าม่วง ตำบลแม่พุง
        • วัดแม่พุง ตำบลแม่พุง
        • วัดรัมณีย์ ตำบลแม่พุง
        • วัดวังกวาง ตำบลแม่พุง
        • วัดวังขอน ตำบลแม่พุง
        • วัดนาใหม่ ตำบลวังชิ้น
        • วัดบางสนุก ตำบลวังชิ้น
        • วัดแม่แปง ตำบลวังชิ้น
        • วัดวังชิ้น ตำบลวังชิ้น
        • วัดวังเบอะ ตำบลวังชิ้น
        • วัดวังแฟน ตำบลวังชิ้น
        • วัดใหม่กลาง ตำบลวังชิ้น
        • วัดบุญเรือง (ศรีบุญเรือง) ตำบลสรอย
        • วัดปางไม้ ตำบลสรอย
        • วัดป่าสัก ตำบลสรอย
        • วัดม่วงคำ ตำบลสรอย
        • วัดแม่กระต๋อม ตำบลสรอย
        • วัดแม่ขมิง ตำบลสรอย
        • วัดศรีบุญนำ ตำบลสรอย
        • วัดสองแควบน ตำบลสรอย
        • วัดสองแควล่าง ตำบลสรอย

        วัดราษฏร์ในอำเภอสอง

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        • วัดทุ่งน้าว ตำบลทุ่งน้าว
        • วัดแดนชุมพล ตำบลแดนชุมพล
        • วัดโทกค่า ตำบลแดนชุมพล
        • วัดลูนิเกต ตำบลเตาปูน
        • วัดเตาปูน ตำบลเตาปูน
        • วัดท่อสมาน ตำบลเตาปูน
        • วัดกลาง ตำบลบ้านกลาง
        • วัดคุ้มครองธรรม ตำบลบ้านกลาง
        • วัดเทพสุนทรินทร์ ตำบลบ้านกลาง
        • วัดพระธาตุพระลอ ตำบลบ้านกลาง
        • วัดวังดิน ตำบลบ้านกลาง
        • วัดหนองสุวรรณ ตำบลบ้านกลาง
        • วัดพระธาตุหนองจันทร์ ตำบลบ้านหนุน
        • วัดลองลือบุญ ตำบลบ้านหนุน
        • วัดศรีมูลเรือง ตำบลบ้านหนุน
        • วัดหนุนใต้ ตำบลบ้านหนุน
        • วัดหนุนเหนือ ตำบลบ้านหนุน
        • วัดดอนชัย ตำบลสะเอียบ
        • วัดนาฝาย ตำบลสะเอียบ
        • วัดนาหลวง ตำบลสะเอียบ
        • วัดแม่เต้น ตำบลสะเอียบ
        • วัดห้วยโป่ง ตำบลสะเอียบ
        • วัดดอนแก้ว ตำบลห้วยหม้าย
        • วัดต้นหนุน ตำบลห้วยหม้าย
        • วัดห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย
        • วัดห้วยหม้าย ตำบลห้วยหม้าย
        • วัดห้วยกาน ตำบลห้วยหม้าย
        • วัดดงเจริญ ตำบลหัวเมือง
        • วัดมัทธะ ตำบลหัวเมือง
        • วัดวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง
        • วัดสันปู่สี ตำบลหัวเมือง
        • วัดหนองบัว ตำบลหัวเมือง
        • วัดหัวเมือง ตำบลหัวเมือง

        วัดราษฏร์ในอำเภอสูงเม่น

        วัดราษฏร์มหานิกาย

        • วัดแก้วมงคล ตำบลดอนมูล
        • วัดค่างาม ตำบลดอนมูล
        • วัดดอนแท่น ตำบลดอนมูล
        • วัดดอนมูล ตำบลดอนมูล
        • วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง ตำบลพระหลวง
        • วัดวุฒิมงคล ตำบลดอนมูล
        • วัดเกษมสุข ตำบลน้ำชำ
        • วัดดอนแก้ว ตำบลน้ำชำ
        • วัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ
        • วัดบวกโป่ง ตำบลน้ำชำ
        • วัดร่องแค ตำบลน้ำชำ
        • วัดร่องแดง ตำบลน้ำชำ
        • วัดร่องเสี้ยว ตำบลน้ำชำ
        • วัดกุญชรนิมิต ตำบลบ้านกวาง
        • วัดมงคลถาวร ตำบลบ้านกวาง
        • วัดกาศใต้ ตำบลบ้านกาศ
        • วัดกาศเหนือ ตำบลบ้านกาศ
        • วัดม่วงเกษม ตำบลบ้านกาศ
        • วัดหนองช้างน้ำ ตำบลบ้านกาศ
        • วัดพงท่าข้าม ตำบลบ้านปง
        • วัดพงหัวหาด ตำบลบ้านปง
        • วัดพิชัยศิริ ตำบลบ้านเหล่า
        • วัดสิทธิวิมล ตำบลบ้านเหล่า
        • วัดดอนทัน ตำบลร่องกาศ
        • วัดตอนิมิต ตำบลร่องกาศ
        • วัดนิวิฐศรัทธาราม ตำบลร่องกาศ
        • วัดพงพร้าว ตำบลร่องกาศ
        • วัดร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ
        • วัดเขื่อนคำลือ ตำบลเวียงทอง
        • วัดไชยามาตย์ ตำบลเวียงทอง
        • วัดทองเกศ ตำบลเวียงทอง
        • วัดน้ำบ่อ ตำบลเวียงทอง
        • วัดผาสุก ตำบลเวียงทอง
        • วัดโพธิสุนทร ตำบลเวียงทอง
        • วัดวังวน ตำบลสบสาย
        • วัดสบสาย ตำบลสบสาย
        • วัดหาดลี่ ตำบลสบสาย
        • วัดโชคเกษม ตำบลสูงเม่น
        • วัดศรีสว่าง (แตนมด) ตำบลสูงเม่น
        • วัดสร่างโศก ตำบลสูงเม่น
        • วัดสูงเม่น ตำบลสูงเม่น
        • วัดช่องลม (นาลาว) ตำบลหัวฝาย
        • วัดดอนชัย ตำบลหัวฝาย
        • วัดทุ่งเจริญ ตำบลหัวฝาย
        • วัดศรีดอก ตำบลหัวฝาย

        วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

        • วัดเวฬุวัน ตำบลน้ำชำ
        • วัดป่าเวียงทอง ตำบลเวียงทอง

        Wednesday 3 July 2013

        บทที่ 2 หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู



        บทที่ 2
        หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู

        หลักคุณธรรมของครู
        คุณธรรมของครู ซึ่งได้กล่าวไว้แล้ว ในบทนำพื้นฐานของครูพอสังเขป  ในบทที่  2  นี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นหลักธรรมนำสู่การปฏิบัติของวิชาชีพครู  เพราะคุณธรรมกับความเป็นครูเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกเป็นการนำเอาหลักธรรมที่สำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำปฏิบัติในสายกลางที่เรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา และฝึกฝนจิตใจให้หนักแน่นประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม  หลักธรรมสำคัญที่ครูอาชีพสมควรถือปฏิบัติ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในวิชาชีพครูประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญ 6 ประการ คือ
        1.             อริยมรรค 8
        2.             พรหมวิหาร  4
        3.             ฆราวาสธรรม
        4.             สังคหวัตถุ  4
        5.             อิทธิบาท  4
        6.             เบญจศีล / ศีล  5

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 1
        1.             อริยมรรค มีองค์  8  ประการ  ซึ่งถือได้ว่าเป็นธรรมขั้นสูงในศาสนาพุทธ  ได้แก่
        1.1.  สัมมาทิฐิ  การเห็นชอบ  หมายถึง  การเห็นชอบตามทำนองคลองธรรมเป็นแสงสว่างส่องทางให้พ้นทุกข์  ครูทั้งหลายหากมีสัมมาทิฐิและถือปฏิบัติที่ดี ย่อมเป็นครูที่มีความเป็นครู
        1.2.  สัมมาสังกัปปะ  การดำริชอบ  หมายถึง การคิดอย่างฉลาด  รอบคอบ รู้จักไตร่ตรอง เป็นผู้มีวิธีคิด รู้จักใช้ความคิดในทางที่ถูกต้องดีงาม  คิดในทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อศิษย์และต่อสังคม
        1.3.  สัมมาวาจา  การพูดจาชอบ  หมายถึง  การไม่พูดจาส่อเสียด  ไม่เพ้อเจ้อ  ไม่พูดหยาบและไม่พูดปด พูดเท็จ  วิธีพูดของครูมีผลต่อความรู้สึกและจิตใจของศิษย์เสมอ  หากครูพูดด้วยความจริงใจอ่อนโยน ไพเราะย่อมทำให้ศิษย์มีความเคารพและรักนับถือ
        1.4.  สัมมากัมมันตะ  การทำการงานชอบ  หมายถึง  การทำกิจการต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจและตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ  เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
        1.5.  สัมมาอาชีวะ  การเลี้ยงชีพชอบ  หมายถึง  การทำอาชีพสุจริตและไม่ผิดกฎหมายทั้งหลาย
        1.6.  สัมมาวายามะ  การเพียรชอบ  หมายถึง  การมุ่งมั่นพยายามในทางดี  ครูต้องมีความเพียร  คือ พยายามศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ  มีมานะพยายามสร้างความก้าวหน้าในชีวิตและหน้าที่การงานตามทำนองคลองธรรม
        1.7.  สัมมาสติ  การระลึกชอบ  หมายถึง  การพิจารณาไตร่ตรองในทางที่ถูก ทั้งมีสติปัญญาเฉียบแหลมรอบคอบในการผจญปัญหาต่าง  ๆ
        1.8.  สัมมาสมาธิ  ความตั้งใจมั่นชอบ  หมายถึง  การตั้งอยู่ในความสงบ ไม่ปล่อยให้กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นจนหลงผิด  หากผู้เป็นครูมีความตั้งใจมั่นชอบย่อมเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพครู
                        อริยมรรคสามารถสรุปได้เป็น  3  กลุ่ม คือ
                        กลุ่มที่  1  ได้แก่ สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ เป็นเรื่องของปัญญาหรือความสว่าง  กล่าวคือ ผู้มีปัญญาย่อมรู้และคิดในทางที่ถูกที่ดี
                        กลุ่มที่  2  ได้แก่  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ  เป็นกลุ่มธรรมที่เกี่ยวกับการรักษาศีลหรือความสะอาด  ผู้มีธรรมเหล่านี้ย่อมไม่เกิดความสับสน วุ่นวาย ทะเลาะเบาะแว้งแข่งขันชิงดีชิงเด่น  และ
                        กลุ่มที่  3   ได้แก่  สัมมาวายามะ  สัมมาสติและสัมมาสมาธิเป็นธรรมที่เกี่ยวกับสมาธิหรือความสงบ

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 2
        2.              หลักธรรมพรหมวิหาร  4
        พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมที่ค้ำจุนโลก  ครูต้องมีหลักธรรมนี้ประจำใจอันประเสริฐ  เพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนที่ดีงาม ได้แก่
        2.1.  เมตตา  คือ  ความรักใคร่  ปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข  มีจิตใจที่ดีงาม  ผู้ที่เป็นครูอาจารย์จะต้องมีหลักธรรมเมตตาเป็นที่ตั้ง
        2.2.  กรุณา  คือ  ความเอ็นดูสงสารศิษย์ พึงช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์และความไม่รู้
        2.3.  มุทิตา  คือ  ความชื่นชมยินดี เมื่อศิษย์ได้ดีและยกย่องเชิดชูให้ปรากฏ  อันเป็นการให้กำลังใจและช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง
        2.4.  อุเบกขา  คือ  การวางตัววางใจเป็นกลาง  อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชังพร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม  พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลเมื่อผู้อื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 3
        3.              หลักธรรมฆราวาสธรรม  4
        ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ให้แนวคิดเกี่ยวกับการครองเรือนและหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์มี 4 ประการ คือ
        3.1.          สัจจะ  คือ  ความจริง ความซื่อตรง  ซื่อสัตย์และจริงใจ ได้แก่ สัจจะต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  ต่อหน้าที่การงานและต่อประเทศชาติ
        3.2.          ทมะ  คือ  การฝึกฝน  การข่มใจ  ฝึกนิสัย  รู้จักควบคุมจิตใจ  แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงตัวให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
        3.3.          ขันติ  คือ  ความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันมั่นเพียร  เข้มแข็ง  ตั้งมั่นในจุดประสงค์ไม่ท้อถอย
        3.4.          จาคะ  คือ การเสียสละ การเป็นผู้ให้ การให้รู้จักละกิเลสมีใจกว้างพร้อมที่จะรับฟังความทุกข์  ความคิดเห็นแสดงความต้องการของผู้อื่น  พร้อมที่จะร่วมมือ  ช่วยเหลือเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ผู้อื่น

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 4
        4.              หลักธรรม สังคหวัตถุ  4
        สังคหวัตถุ 4  เป็นหลักธรรมที่ให้แนวคิดเกี่ยวกับการยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลและการประสานความสามัคคีในกลุ่มคนประกอบด้วย
        4.1.          ทาน  หมายถึง  การให้ผู้เป็นครูอาจารย์จะต้องให้คำแนะนำสั่งสอน  ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ 
        4.2.    ปิยวาจา  หมายถึง  การพูดจาด้วยน้ำใสใจจริงมีความหวังดี  มุ่งให้เป็นประโยชน์และเกิดผลดีทำให้เกิดความเชื่อถือและความเคารพนับถือ
        4.3.    อัตถจริยา  หมายถึง  การประพฤติอันเป็นประโยชน์  การขวนขวายช่วยเหลือกิจการสาธารณประโยชน์  ตลอดจนช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรมแก่ผู้อื่น
        4.4.    สมานัตตตา  หมายถึง  การทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย  ตลอดจนการวางตัวให้เหมาะแก่ฐานะ  ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 5
        5.              หลักธรรม อิทธิบาท  4
        อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่ทำให้ทำงานประสบความสำเร็จ  ประกอบด้วย
        5.1              ฉันทะ  คือ  ความพึงพอใจ  ความต้องการที่จะทำ  ใฝ่ใจรักในสิ่งนั้นอยู่เสมอ  และปรารถนาทำให้ได้ผลดีขึ้นไป
        5.2              วิริยะ  คือ  ความเพียร ขยันหมั่นเพียรประกอบสิ่งนั้น ๆ ด้วยความพยายามเข้มแข็งอดทน
        5.3              จิตตะ  คือ  ความคิดตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด  เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านจากสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ
        5.4              วิมังสา  คือ  ความไตร่ตรอง  หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและมีการวางแผนปรับปรุงงานอยู่เสมอ
        เป็นหลักธรรมเบื้องต้น 5 ประการตามแนวทางของพระพุทธศาสนา  ผู้ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนานี้แล้ว  จะบังเกิดผลดีต่อการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น  รวมถึงสามารถถ่อยทอดการสอนต่อผู้เรียนและนักเรียนได้เป็นอย่างดี  จะเป็นผู้ถ่อยทอดและผู้ให้ด้วยดวงใจอันบริสุทธิ์สงบและหวังดีโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ

        หลักธรรมสำหรับครู  ที่ 6
        6.              หลักธรรมเบญจศีลหรือศีล 5
        เบญจศีลหรือศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับผู้มีอาชีพครูและบุคคลทั่วไป  ศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรักษา  กายและวาจาให้เป็นปกติเรียบร้อยดีงาม  เบญจศีลหรือศีล 5 เป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานมี 5 ข้อ คือ
        6.1              ปาณาติปาตา เวรมณี  คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
        6.2              อทินนาทานา  เวรมณี  คือ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของเข้าไม่ให้มาเป็นของตัวเอง
        6.3              กาเมสุมิฉาจารา  เวรมณี  คือ งดเว้นจากการประพฤติผิดคู่ครองและของรักคนอื่น  ผู้ทีอาชีพครูและผู้เป็นครูพึงระมัดระวังไม่ควรผิดลูกผิดเมียผู้อื่น  ควรประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีสมกับความเป็นครู
        6.4              มุสาวาทา  เวรมณี  คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ  ไม่พูดโกหกหลอกลวงหรือพูดส่อเสียดที่ขัดแย้งกับความเป็นครู
        6.5              สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี  คือ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา  คือ สุราเมรัยอันเป็นต้นแห่งความประมาทและเว้นจากสิ่งเสพติดและสิ่งมีโทษทุกอย่าง 
        ( ที.ปา. 11/286/274, องฺ . ปญฺจก . 22/127/227 )
                        เบญจศีลหรือศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติของความประพฤติชอบทางกายและวาจาและวินัย  ละเว้นจากความชั่ว ควบคุมกิริยาวาจาให้เรียบร้อยอยู่เป็นนิตย์  ไม่เบียบเบียนเอาเปรียบผู้อื่น  จึงเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ครูต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และสังคม  เมื่อมีหลักธรรมเบื้องต้นแล้วครูจะต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง  สู่การพัฒนาหลักธรรมและคุณธรรมอยู่เนือง ๆ  เพื่อที่ภาวะแห่งจิตจะได้ไม่เกิดความหลงทางในอบายของสังคมสมัยใหม่

        การพัฒนาคุณธรรมของครู
                        คุณธรรมเป็นเรื่องของอุปนิสัยอันดีและงดงามที่สะสมอยู่ในจิตใจ  ซึ่งได้มาจากความเพียรที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง  ดีงาม  ติดต่อกันมาเป็นเวลานานคุณธรรมจะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่  เพราะกระทำจนเป็นนิสัย
        การพัฒนาคุณธรรมของครู  ควรเริ่มต้นที่
        1.             พัฒนาคุณธรรมทางสติปัญญา  สติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญควรฝึกฝนศึกษาความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา  รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ส่งผลต่อความมีเหตุผลในการปฏิบัติหน้าที่
        2.             พัฒนาคุณธรรมทางศีลธรรม  คือ  เป็นผู้ที่มีจิตสำนึกในสิ่งที่ดีงามและเหตุผล  คุณธรรมทางศีลธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือติดมาตั้งแต่กำเนิด  หากแต่สร้างขึ้นด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีนางศีลธรรม  ซึ่งเราสะสมอยู่ภายในจิตใจของครู
        การที่จะพัฒนาคุณธรรมครูเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและการที่ครูมีหลักคุณธรรมเป็นพื้นฐานต่อความเป็นครูแล้ว  สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำและเป็นความคาดหวังจากสังคมว่า  ครูจะต้องเป็นแบบมาตรฐานแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบมีสติสัมปชัญญะที่ดีนั้นตัวครูเองจะต้องหมั่นทบทวนบทบาทในอาชีพและมีความกระตือรือร้นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมอยู่เป็นนิตย์    รศ. วิไล  ตั้งจิตสมคิด กล่าวว่าการส่งเสริมคุณธรรมเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับอาชีพของความเป็นครูที่ดีมีวิธีการดังนี้
        แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับครู
        1.             การเลียนแบบจากตัวแบบที่ดี  นอกจากตัวครูมีแบบของตนเองแล้วต้องสังเกตเรียนรู้แบบอย่างที่ดีเด่นยอดเยี่ยมของเพื่อนครู ( แบบ )  ที่ได้รับการยกย่องจากสังคม  เป็นการกระตุ้นโน้มน้าวให้ครูมีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงานและพัฒนาตนเอง
        2.             การรวมพลังกลุ่ม  เป็นการระดมความคิดในเชิงสร้างสรรค์  โดยการที่มีแนวคิดและวางแผนปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเพื่อนครูและกลุ่มครูด้วยกัน  เช่น  การรวมกลุ่มรณรงค์เพื่อประหยัดไฟฟ้า  น้ำมัน  การใช้เงิน การสร้างวินัยในความเป็นอยู่ที่ดีประหยัด  มัธยัสถ์พอเพียง  เป็นการประหยัดทรัพย์สินส่วนตัว  ส่วนรวมและราชการ
        3.             การเพิ่มสมรรถภาพทางจิต  ด้วยวิธี
        3.1              ฝึกการควบคุมอารมณ์ของตนเอง  ให้มีความยับยั้งชั่งใจ  มีวิจารณญาณ  ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ  ศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมนั้น ๆ ก่อน  เพราะโดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เรามีพฤติกรรมทางอารมณ์อยู่  2  ประการในตัว คือ ความเป็นบวกกับลบ  เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ดับเสียแต่ต้น
        3.2              พยายามเอาชนะอุปสรรคด้วยความมั่นสัญญาและมีสัจจะและเก็บบันทึกข้อมูล อันเป็นผลการปฏิบัติของตนเอง  โดยให้เพื่อนครูหรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ประเมินผลความก้าวหน้าให้
        3.3              การฝึกสมาธิ  เพื่อให้มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน  มีสติอยู่เสมอ  จะช่วยให้ครูมีความเชื่อมั่นในตนเองไม่เกิดความหลงในสรรพสิ่งรอบกาย  ก็จะทำให้เกิดความแจ่มใสในอารมณ์สามารถที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางจิตใจให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี  จะช่วยให้ครูได้ตระหนักและมองเห็นคุณค่าของสมาธิมีเหตุผลและหลักการประพฤติปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องตลอดไปจนกลายเป็นนิสัยที่ดี

        คุณธรรมมีความสำคัญต่อวิชาชีพครูอย่างไร
        ครูและอาชีพครูหรือครูอาชีพนั้นมีความสำคัญต่อสังคมและตนเองเป็นอย่างยิ่ง  คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญ  ที่ให้ไว้สำหรับบุคคลหรือสังคมและผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ครูได้น้อมนำไปปฏิบัติจนเป็นลักษณะนิสัย  เพราะถ้าหากผู้มีคุณธรรมแล้ว  จะทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นมีความสำเร็จในงานที่ทำเป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ
        สำหรับครูกับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นคู่กัน  ถ้าหากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนนักบวชที่ไร้ศีล
        เมื่อวันจันทร์ที่ 5  เมษายน  พ.ศ.2525  ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า  ณ.ท้องสนามหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวพระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทยเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติมีอยู่  4  ประการ  คือ
        1.             การรักษาความสัจ   ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติ  แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
        2.             การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสัตย์และความดี
        3.             การอดทนอดกลั้นและอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
        4.             การรู้จักละวางความซื่อ  ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
        คุณธรรมทั้ง  4  ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขร่มเย็น  โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องยึดปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเองและผู้อื่น
        นอกจากมีหลักคุณธรรมเป็นหลักยึดปฏิบัติในวิชาชีพครูแล้วครูอาชีพและผู้ที่เป็นครูจะต้องไม่ล้าหลังในคุณค่าขององค์ความรู้และการเรียนรู้  จักต้องปรับบุคลิกให้เหมาะสมกับความเป็นครูที่ดีน่าเชื่อถือดำรงธาตุแท้ของความเป็นครูที่เรียกว่า  กัลยาณมิตรธรรม  ได้แก่ธรรมของผู้เป็นมิตรที่ดี  7  ประการ  ประกอบด้วย
        1.             ปิโย จะโหติ  มนาโป เป็นผู้น่ารักน่าพอใจน่าเคารพของ
        ผู้เรียน
        2.             ครุ   เป็นผู้น่าเคารพและมีความหนักแน่นทำการค้นคว้าอย่าง
        แท้จริง
        3.             ภาวะนีโย      เป็นผู้น่าสรรเสริญมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
        4.             วัตตา              เป็นผู้ฉลาดพูดรู้จักชี้แจงเป็นที่ปรึกษาที่ดี
        5.             วะจะนักขะโม             เป็นผู้ที่อดทนต่อถ้อยคำข้อเสนอแนะ
        และคำวิพากษ์วิจารณ์
        6.             คัมภีรัญจะ  กะถัง  กัตตา           เป็นผู้ที่พูดถ้อยคำได้ลึกซึ่ง
        สามารถอธิบายเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้และสอนได้ลึกซึ่งขึ้นไปอีก
        7.             โนจัฏฐาเน  นิโยชะเย                                ไม่ชักนำในอฐานะ คือไม่ชัก
        จูงไปในทางที่ผิดเสื่อมเสียหรือเรื่องที่เหลวไหล
        หลักคุณธรรม  7  ประการนี้เมื่อนำมาบูรณาการเข้ากับความเป็นครูและวิชาชีพครู  ซึ่งเป็นวิชาชีพครูที่มีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นตามหลักของวัฒนธรรมไทยถือว่าครูที่ดีจะต้องมี  หลักธรรม  3  สุ  นั้นก็คือ
        1.   สุวิชาโน   คือ  เป็นผู้มีความรู้ดี
        2.   สุสาสโน  คือ  เป็นผู้สอนดร  รู้จักชี้แจง  ชักจูง  ปลูกใจ  ให้เกิดความเพลิดเพลินในการเรียน
        3.   สุปฏิปันโน  คือ  เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติตนดี  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลอื่น
                        การบูรณาการหลักธรรม สุ ที่  1  กับความเป็นครู
        1.             สุวิชาโน  หมายถึง  เป็นผู้มีความรู้ดี  ความรู้จักทางโลก  คือ  ความรู้ที่ปราศจากโทษ  เป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้เรียน  เป็นความรู้ที่ไม่ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  เป็นความรู้เพื่อการเสียสละและความเจริญต่อการพัฒนาชีวิตของตนเองประกอบด้วยใจความสำคัญ  4  ประการ คือ
        1.1              เมตตา  การปรารถนาความสุขจากการศึกษาอยากให้ตนเองพ้นจากความโง่เขลา คือ  อ่านหนังสือไม่ออก  อยากให้ตนเองเรียนรู้และเข้าใจในหนังสือ  เป็นความรู้ที่อิงปรารถนาสุขแก่ตนเอง  เพราะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสุข  คือ  ความไม่รู้ในสิ่งต่าง ๆ  เมื่อขาดการปรารถนาจะเรียนรู้ เพื่อจะให้ตนเองพ้นจากความโง่  แล้วจึงจะเป็นความรู้ที่ดีได้
        1.2              กรุณา  เมื่ออ่านหนังสือออก  ก็เกิดความสุขสำราญใจอัน  หมายถึง  การที่ตนเองพ้นจากความทุกข์คือความไม่รู้หนังสือนั่นเอง
        1.3              มุทิตา  อาการแสดงความพลอยยินดี  เมื่อตนเองมีความรู้ที่ดีแสดงความปลาบปลื้มในขณะที่ตนนั้นเอาชนะความโง่เขลาได้
        1.4              อุเบกขา  อาการวางเฉยเมื่อตนเองแก้ไขสถานการณ์ได้และหาทางแก้ไข  หาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อความรู้ขั้นใหม่ได้
        อีกนัยหนึ่ง  การเป็นผู้มีความรู้ดี  ต้องปราศจากความรู้ที่อิงโทษที่เรียกว่า  ทุวิชาโน
        ทุวิชาโน  ได้แก่ความรู้ที่ประกอบด้วยโทษ  ความรู้วิชาชีพที่ไม่ดี  มีแต่ความเสื่อม  อันประกอบด้วยอาการเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดความโลภ  เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  สร้างความลำบากใจแก่ผู้อื่น  ความรู้ที่สร้างความโกรธแค้นและความรู้ที่ลุ่มหลง คือ รู้แล้วคอยแต่จะเพ่งโทษจะเอาดีเข้าตัวชั่วให้คนอื่น
        การที่จะเป็นผู้มีความรู้ดีนั้น  ต้องเป็นความรู้ที่ประกอบด้วย  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  และอุเบกขาที่จะสร้างความสุขให้แก่ตนเองและสังคม  ที่จะสร้างกัลยาณมิตรธรรมให้เกิดขึ้น  และเป็นความรู้ที่ปราศจากโทษที่อิงความโลภ  ความโกรธและความหลง  จึงจัดว่าเป็นความรู้ที่ดีของครูที่เรียกว่า  สุวิชาโน
        การบูรณาการหลักธรรม  สุ  ที่ 2  กับความเป็นครู
        2.             สุสาสโน  หมายถึง  ผู้สอนดี  อันหมายถึงการรู้จักชี้แจง  ชักจูง  ปลุกใจให้เกิดความเพลิดเพลินในการเรียน  ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลเกิดขึ้น  ซึ่งตรงกับหลักธรรมการสอนตามพุทธวิธี  4  ประการ  คือ
        2.1              สันทัสสนา  การอธิบายให้เห็นชัดเจน แจ่มแจ้งเหมือนกับที่เรารู้  จูงให้เห็นด้วยตา
        2.2              สมาทปนา  การสอนด้วยชักจูงใจให้เห็นจริงด้วยชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
        2.3              สมุตเตชนา  การสอนด้วยวิธีการเร้าใจให้แกล้วกล้า  ปลุกให้เกิดอุตสาหะ แข็งขัน  มั่นใจว่าจะทำได้สำเร็จไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก
        2.4              สัมปหังสนา  การสอนด้วยชโลมใจให้แช่มชื่น  ร่าเริง  เบิกบาน  ฟังไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง  เพราะมองเห็นประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ
        ตามหลักวิธีการสอนพุทธวิธีให้เกิดผลดีรวมเป็นหัวใจของหลักการสอนสั้น  ๆ  ว่า แจ่มแจ้ง  จูงใจ  หาญกล้า  ร่าเริง  หรือชี้ชัด  เชิญชวน  คึกคัก  เบิกบาน
        การบูรณาการหลักธรรม  สุ ที่  3 กับความเป็นครู

        3.             สุปฏิปันโน  หมายถึง  การปฏิบัติดี  อันได้แก่การเป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติดี  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป  เพราะการประพฤติตนเป็นอย่างที่ดีแก่ศิษย์ก็เป็นการสอนอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะเกิดสัมฤทธิผลแก่ผู้เรียนและดีกว่าการสอนด้วยการแนะนำ  ซึ่งรงกับหลักกัลยาณมิตรธรรม  7  ประการ  ดังกล่าวแล้ว  ซึ่งเป็นการสอนด้วยการปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดี